[Linux] สร้าง VM และติดตั้ง Ubuntu Server 18.04 บน Citrix Hypervisor (XenSever)

Raweeroj Thongdee
4 min readMar 25, 2020

--

สวัสดีทุกท่านครับผม

ผมกลับมาแล้วทุกคนพอดีช่วงนี้เป็นช่วงกักตัว 14 วัน หลังกลับจาก กทม มาอยู่บ้านหนี CoVid-19 คับ ก็เลยถือเอาเวลาช่วงนี้มาศึกษาค้นคว้าเรื่องที่น่าสนใจดู วันนี้ผมมีเทคโนโลยี Virualization จาก Citrix มาใช้งานให้ชมกันครับ อ้อสำหรับท่านที่งงว่าเทคโนโลยี Virualization คืออะไรก็สามารถกลับไปดูบทความเกี่ยวกับ VirualBox ได้ครับผมอธิบายไว้น่าจะค่อนข้างเยอะอยู่

มาสรุปกันสั้นๆ ครับ วันนี้ผมจะสร้าง VM (Virtual machine) ตัวนึงที่ภายในลง OS เป็น Ubuntu Server 18.04 เอาไว้ โดยทั้งหมดจะจัดการผ่านโปรแกรม Citrix XenCenter ซึ่งตัวโปรแกรมจะไปจัดการ Citrix Hypervisor (XenServer) อีกทีนึง

บทความนี้สำหรับ : ผู้ที่มี Xen Server ติดตั้งบนเครื่อง Server ของตนเอง หรือ ผู้ที่ต้องการติดตั้ง Ubuntu Server 18.04

มาเริ่มกันเลย

อันดับแรกเราต้องโหลดโปรแกรม Citrix XenCenter จากหน้าเว็บมาก่อนตาม Link นี้ แล้วทำการ Sign In สำหรับผู้มีบัญชีของ Citrix อยู่แล้ว (หากใครยังไม่มีก็สามารถสมัครได้ฟรีเลยครับ) และทำการติดตั้งโปรแกรมให้เรียบร้อยก็จะได้หน้าตาโปรแกรมอย่างนี้มา

หน้าตาของโปรแกรม Citrix XenCenter

จากนั้นก็ทำการกรอก ip ของ Server และ Username กับ Password เพื่อ Connect ไปยัง Server

การสร้าง VM ผ่าน Critrix XenCenter

อันดับแรกในกดปุ่ม [New VM]

จากนั้นให้ท่านเลือก Template เป็น [Ubuntu Bionic Beaver 18.04] แล้วกด [Next]

ต่อไปจะเป็นการตั้งชื่อ VM

  • Name : เป็นช่องสำหรับตั้งชื่อให้ VM ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อภายหลังได้
  • Desciption : จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ครับ
  • จากนั้นกดปุ่ม [Next] ต่อได้เลย

ต่อไปก็เป็นการเลือก ISO ของไฟล์ Ubuntu Server 18.04 ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องของท่านเก็บไฟล์ ISO ของ OS ต่างๆ ไว้ที่ใด จากนั้นกด [Next] ต่อเลย

กด [Next]

ขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนด CPU และ RAM ให้กับตัว VM (จำนวน CPU และ RAM ก็ขึ้นอยู่กับสเปคเครื่อง server ของท่านเองครับ) จากนั้นกด [Next]

ขั้นจอนนี้เป็นการตั้งค่า Storage ครับให้ท่านกดปุ่ม [Edit] ทางด้านขวาเมื่อก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาจากนั้นก็สามารถตั้งชื่อ เลือกขนาด และเลือกว่าจะเก็บข้อมูลง Disk ใหน ซึ่งตรงนี้จะเเตกต่างกันไปตามแต่ละเครื่อง Server ครับไม่ตายตัว จากนั้นกด [OK] และกด [Next] ต่อได้เลย

ส่วนนี้เป็นการตั้งค่า Interface ของเครือข่ายครับก็แตกต่างกันไปตามแต่ละเครื่องจากนั้นกด [Next]

พอถึงหน้านี้แล้วให้กด [Create Now] แล้วรอสักครู่นึง

การติดตั้ง Ubuntu Server 18.04

พอเครื่อง VM boot เสร็จก็จะเข้าสู่หน้า Setup ของ Ubuntu Server 18.04 ครับ (ตัวช่วยติดตั้งหรือ Installer จะเป็นเวอร์ชั่น 20.0 สำหรับใครเป็นเวอร์ชั่น 19.0 ก็หน้าตาจะคล้ายๆ กันครับ ไม่ต้องตกใจ)

  1. หน้าแรกจะให้เราทำการเลือกภาษาผมเลือกเป็น [English] จากนั้นกดปุ่ม Enter

2. หน้านี้เป็นการตั้ง Keyborad layout ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงให้กด [Done] ได้เลยครับ

3. ส่วนของการตั้งค่าเครือข่ายครับ หาก Interface ไหนมี DHCP Server ไว้ก็ Interface นั้นก็จะได้รับแจกไอพีอัตโนมัติครับ ซึ่งส่วนนี้จะเเตกต่างกันตามระบบเครือข่ายและการ์ดเครือข่าย(จำนวนพอร์ต Lan)ของเครื่องที่ทำการติดตั้งครับ

4. กด [Done] ได้เลย ทั้งสองอัน

5. เป็นการตั้งค่า Storage ให้ [x] หน้า Use an entire disk แล้วกด [Done]

6. จากนั้นกด [Continue] ได้เลย

7. หน้านี้เป็นการตั้งค่าบัญชีผู้ใช้งาน

  • Your name : เป็นชื่อตั้งอะไรก็ได้
  • Your server’s name : เป็นชื่อเครื่องนี้ หรือ hostname
  • Pick a username : ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน
  • Choose a password : รหัสผ่านสำหรับบัญชีนี้ (เป็นรหัสที่ใช้กับ root user ด้วย)
  • เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จากนั้นกด [Done]

8. ส่วนนี้จะเป็น option ว่าจะให้ทำการติดตั้ง SSH server เลยหรือไม่ ซึ่งก็แน่นอนครับให้ติดตั้งไปเลยโดยทำเครื่องหมาย [x] หน้า Install OpenSSH server ด้วยการกด [spacebar] จากนั้นกด [Done] (SSH (Secure Shell) คือ โปรโตคอลนึงที่ไว้สำหรับติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่าย ผ่าน ssh client เช่น putty เป็นต้น)

8. อันนี้เป็น featured เพิ่มเติมครับ ผมไม่เลือกอะไรเลย แต่สำหรับใครอยากติดตั้งตัวไหนเพิ่มเติมก็สามารถทำเครื่องหมาย [x] หน้า featured นั้นได้เลย โดยเมื่อถึงขั้นตอนการติดตั้งตัว Installer จะติดตั้งพร้อม pre-config เบื้องต้นให้สำหรับ featured นั้นๆ ครับ เสร็จแล้วกด [Done]

ส่วนนี้จะกำลังอยู่ในขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu Server 18.04

9. ตรงนี้การติดตั้งจะเรียบร้อยแล้วให้กด [Reboot] ได้เลยครับเครื่องจะทำการรีบูทเอง (ส่วนถ้ามีหน้า Dialoge ถามว่าต้องการลบไฟล์ Installer ไหม ให้กด Enter ได้เลยครับ)

กด Enter ได้เลยในส่วนนี้

10. เมื่อเครื่องบูทเสร็จก็จะเข้าสู่หน้าต่าง Terminal ของ Ubuntu server 18.04 เรียบร้อยครับ ! เท่านี้เราก็จะมี Linux server เอาไว้ทำเป็นอะไรนั้นรอติดตามชมได้ครับ

สุดท้ายนี้ผมขอบขอบคุณทุกท่านที่ติดตามและอ่านจนถึงตรงนี้เลยครับ บทความนี้อาจจะค่อนข้างยาวเลยแต่ก็น่าจะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการติดตั้ง หากผิดพลาดประการใดผมยินดีปรับแก้และน้อมรับครับ

ปล. หากติดปัญหาตรงไหนติดต่อผมมาได้เสมอนะครับยินดีช่วยเหลือเกี่ยวกับ Ubuntu Server และ XenServer ถ้าผมพอช่วยได้ และสุดท้ายของวันนี้ทุกคนอย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ ช่วงนี้ CoVid-19 กำลังอันตรายสำหรับวันนี้สวัสดีครับ :)

--

--

Raweeroj Thongdee

HPC and Supercomputer, Network, Server , Embedded Systems ชอบอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ เขียนบล็อก(ถ้าว่าง !) แบ่งปัน maker