[Linux] เริ่มต้นการใช้ลินุกซ์กับการติดตั้ง Ubuntu Desktop 18.04

Raweeroj Thongdee
3 min readMar 25, 2020

สวัสดีครับทุกคน!!

ผมกลับมาแล้วครับผมหลังจากห่างหายไปนานนนเลย ก็ขอโทษจากใจจริงเลยน่ะครับสำหรับผู้ที่ติดตาม ช่วงนี้ผมก็เริ่มแบ่งเวลาว่างมาเขียนบล็อคนี้ได้แล้วครับ เพราะเพิ่งรายงานตัวกับจัดแจงข้าวของย้ายเข้าหอพักครับ อ่อผมเพิ่งเข้ามหาลัย ปี 1 น่ะฮ่ะฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ

ไม่พูดมาก ที่วันนี้จะมาลองติดตั้ง Linux ก็สืบเนื่องจากว่าพอดีผมมีโน้ตบุ๊คเครื่องเก่าที่เคยใช้งานอยู่แต่ผมไม่ได้ใช้แล้วเลยจะลองหาอะไรใหม่ๆ ใช้งานดูก็เลยเลือก Debian GNU/Linux ตัว Distro ที่เป็น Ubuntu Desktop ซึ่งปกติผมใช้งานประจำอยู่แล้วนั่นก็คือ Ubuntu server ที่มีแต่หน้า Terminal ดำๆ ครับ วันนี้เลือกอยาจที่จะแบ่งปันวิธีการติดตั้งดู ไปเริ่มกันเลยครับผม ++

เริ่มต้น

  1. อันดับแรกเลยน่ะครับให้ทุกท่านไปทำการ Download ไฟล์ ISO ของ Ubuntu โดยเข้าไปที่ https://ubuntu.com/ แล้วเลือกไปที่แทป Downloads แล้วให้ทำการคลิก “ปุ่มสีเขียวๆ 18.04 LTS” ตรง Ubuntu Desktop แล้วรอให้ดาวน์โหลดให้เสร็จ
โหลดไฟล์ ISO Ubuntu Desktop 18.04

2. โปรแกรมอีกตัวหนึ่งที่เราต้องใช้คือ Rufus ซึ่งจะทำ bootable ตัว OS ให้เรา เริ่มกันที่ให้ทุกท่านเข้าเว็บ https://rufus.ie/ แล้วเลื่อนลงมาท่านจะเจอคำว่า ดาวน์โหลด ให้ท่านคลิก “Rufus 3.5” หรือ “Rufus 3.5 แบบพกพา” เลือกแบบไหนก็ได้ครับ

โหลดโปรแกรม Rufus

ทำแฟลชไดร์ฟให้พร้อม

ในขั้นตอนนี้เราจะเตรียมแฟลชไดร์ฟสำหรับเอาไว้ boot เครื่องในช่วงต้นของขั้นตอนการติดตั้งโดยท่านต้องเตรียมอุปกรณ์ดังนี้

  1. แฟลชไดร์ฟ ขนาด 4GB หรือ มากกว่า (ต้องเป็นแฟลชไดร์ทปล่าว หรือ พร้อมต่อการ format -> ข้อมูลข้างในหายหมดน่ะคับ) จะใช้ USB2.0 หรือ 3.0 ได้หมดครับ
  2. ไฟล์ ISO ของ Uubuntu Desktop (ubuntu-18.04.2-desktop-amd64.iso) และโปรแกรม Rufus
(ซ้าย)โปรแกรมและซอร์ฟแวร์ที่ใช้ (ขวา) แฟลชไดร์ฟ 4 GB

3. ต่อไปให้ทำการเปิดโปรแกรม Rufus ขึ้นมาแล้สเลือกแฟลชไดร์ฟที่ต้องการจะทำ(1) จากนั้นเลือกคำว่า “SELECT” (2) แล้วเลือกไฟล์ ISO Ubuntu Desktop พอเลือกทุกอย่างหมดแล้วให้กดปุ่ม START (3)

4. รอสักครู่นึงก็เป็นอันเสร็จ

เริ่มติดตั้งลงใน Notebook

อันดับแรกก็ต้องหาโน้ตบุ๊ค หรือ pc ที่จะทำการติดตั้งลงไปก่อน ส่วนผมจะใช้โน้ตบุ๊คเครื่องเก่าตัวนี้ เพราะผมเคยลง window ละมันช้าๆ เลยจับมาลง linux ซะเลย

สเปคเครื่องคร่าวๆ (แต่บอกก่อนว่าตัว Ubuntu หรือ Linux ตระกูลอื่นเนี่ยมันไม่กินทรัพยากรเครื่องมากเท่า window นะครับ สำหรับใครมีเครื่องคอมหรือโน้ตบุ๊คเก่าๆ ก็สามารถลงได้ครับ)

  • CPU A8–4500M
  • RAM 8Gb DDR3–1600
  • SSD 120 SATA Kington

มาเริ่มกันเลยครับ อันดับแรกก็เสียบ แฟลชไดร์ฟ ตัวที่เราทำ bootable เอาไว้เข้ากับเครื่องครับ จากนั้นก็กด key เพื่อเข้า boot option ครับ [แล้วแต่ยี่ห้อนะคับ สำหรับ Asus เครื่องนี่กด ESC ] แล้วเลือก Boot ไปที่ แฟลชไดร์ฟ แล้วเครื่องก็จะ boot เข้ามาหน้าตั้งค่าตามนี้ครับ

สำหรับหน้านี้เป็นการให้เราเลือกภาษาที่ใช้ครับ เลือกเป็น [English] และกด [Continue]

หน้า Welcome Ubuntu 18.04

ต่อไปจะเป็นการตั้งค่า Keyborad layout ครับ สามารถตั้งค่าเพิ่มเติมภายหลังได้ในนี้ผมเลือกเป็น [English (US)] > [English (US)] แล้วกด [Continue] ได้เลย

หน้าการตั้งค่า Keyboard layout Ubuntu 18.04

สำหรับอันนี้จะเป็นหน้าการตั้งค่าเครือข่ายครับ ให้ติ๊กที่ [I don’t want to connect to a wi-fi network right now] เราสามารถตั้งค่าภายหลังได้จากนั้นกด [Continue]

อันนี้เป็นหัวข้อ Update กับ Other software ก็ให้ทำการเลือก [Normal installation] แล้วกด [Continue]

พอมาถึงหน้านี้จะเป็นการเลือกรูปแบบการติดตั้งดังนี้

  • Install Ubuntu alongside Window Boot Manager => อันนี้เป็นการที่เครื่องเรามี window อยู่แล้วแล้วเราสารมารถลง Ubuntu ทับไปโดยเราต้องไปเลือกใน Windows Boot Manager ด้วยว่าเราจะให้ boot อันดับแรกเป็น windows หรือ Ubuntu (ข้อมูลใน Disk จะยังไม่หาย)
  • Erase disk and install Ubuntu => ผมจะเลือกอันนี้คือ ลบข้อมูลทั้งหมดใน disk แล้วทำการติดตั้ง Ubuntu

จากนั้นกด [Install Now]

จากนั้นก็จะมีหน้า Write the changes to disks? ขึ้นมาว่า “ จะทำการลบข้อมูลทั้งหมดและแบ่ง partition ตามนี้น่ะ ” ก็ให้เรากด [Continue] ไป

ก็จะเข้าสู่หน้าของการตั้ง zone เวลาให้เราใช้เมาส์จิ้มไปที่ ประเทศไทย ในแผนที่โลกหรือใช้คีย์บอร์ดพิมพ์ว่า Bangkok จากนั้นกด [Continue]

พอมาถึงหน้านี้จะเป็นการจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้งาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • Your name : เป็นชื่อเฉยๆ ใส่อะไรก็ได้
  • Your computer’s name : เป็นชื่อคอมพิวเตอร์เราจะเปลี่ยนหรือตั้งอะไรก็ได้ (Default จะเป็น ชื่อเรา-รุ่นของเครื่อง)
  • Pick a username : อันนี้จะเป็นบัญชีผู้ใช้เรา
  • Choose a password : อันนี้เป็นรหัสผ่านสำหรับ username นี้ (โดยรหัสผ่านนี้จะเป็นรหัสให้กับ root user ด้วย ซึ่งรหัสผ่านของ root สามารถเปลี่ยนในภายหลังได้ (root user เปรียบเทียบได้กับบัญชี Administrator ในฝั่ง windows คับ))
  • จากนั้นกด [Continue]
จากนั้นก็ทำการรอสักครู่นึง เพื่อทำการติดตั้ง

พอติดตั้งเสร็จสิ้นจะมี dialoge ขึ้นมาก็ให้ทำการกด [Restart Now] เครื่องเราก็จะทำการรีบูทหนึ่งครั้ง และพร้อมใช้งานแล้วครับ

เครื่องเมื่อทำการติดตั้ง Ubuntu Desktop 18.04 เสร็จสิ้น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu Desktop 18.04 ไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมครับ ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายคงที่กำลังมองหาวิธีการติดตั้งอยู่ครับ

ปล. บทความนี้ผมเขียนมาสักพักแล้วครับแต่ยังไม่สมบูรณ์ พอดีช่วงนี้กักตัวอยู่บ้าน 14 วัน เลยพอมีเวลามานั่งเติมเต็มให้สมบูรณ์ครับ สำหรับโลกของ Linux นั้นมีความน่าสนใจมากครับเราสามารถนำไปใช้งานได้หลายอย่างเลย จะเป็นอะไรนั้นโปรดติดตามได้ครับ สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณผู้อ่าน ผู้ติดตามทุกๆ ท่าน ครับ ผิดพลาดประการใดขอน้อมรับไว้ครับ อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยครับผม : )

--

--

Raweeroj Thongdee

HPC and Supercomputer, Network, Server , Embedded Systems ชอบอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ เขียนบล็อก(ถ้าว่าง !) แบ่งปัน maker