[Network101] จดทะเบียน Domain กับ GoDaddy

Raweeroj Thongdee
3 min readMar 26, 2020

--

Hello! แปลว่า สวัสดี

สำหรับวันนี้มาเรื่องที่ทั่วไป แบบสบายๆ กันหน่อยนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงการจดทะเบียนโดเมนเป็นของตัวเองกันครับ ในที่นี้ผมจะจดกับ GoDaddy ให้ดูเป็นตัวอย่างคับแต่จดกับที่อื่นก็ได้ตามแต่ราคาของโดเมนหรือความสะดวกของผู้จดครับ แนะนำเบื้องต้นผมเคยจดโดเมนกับ 3 เจ้าหลักๆ ก็ GoDaddy , P&T Hosting และ hostinglotus อันนี้คือเจ้าที่ผมเคยจดด้วยครับ เอาหล่ะครับมาเริ่มต้นกันเลย

โดเมนคืออะไร ?

เอาแบบง่ายๆ สั้นๆ ละกันครับโดเมนในที่นี้ไม่ได้เกี่ยวของกับ โดเมน เรนจ์ และฟังก์ชัน ของคณิตศาสตร์เขานะครับผม 555 แต่ โดเมน (Domain) หรือ Domain name เนี่ยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะใช้เรียกแทน ip ในการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ (host หรือ server ) หรือ เว็บไซต์ (site หรือ directory) ต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำของผู้ใช้งานครับ โดยจะมีส่วนประกอบดังนี้ครับ

  • URL : ที่เราเห็นกันบ่อยครั้งในส่วนแท็บด้านบนของ Browser (Chrome , FireFox IE , MS Edge , Opera ) จะแสดง Subdomain , domain name และ TLD โดยขั้นแต่ละส่วนด่วย . (จุด) ส่วนหน้าสุดๆที่เขียนว่า http:// หรือ https:// อันนั้นเป็นส่วนของโปรโตคอลคับ
  • Subdomain : เป็นส่วนที่เราจะกำหนดเป็นอะไรก็ได้เช่น www , www2 , mail , blog , port , mqtt เป็นต้น ซึ่งจะทำงานร่วมกับ Record และ DNS server
  • Domain name : อันนี้คือส่วนที่เราต้องการเลยอาจเป็นชื่อเราเอง ชื่อบริษัท องค์กร หน่วยงาน จะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ จะสั้นจะยาวแล้วแต่เลย (โดยโดเมนควรสั้นและง่ายต่อการจดจำของผู้คน) เป็นตัวอักษร A-Z พิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก เราจะถือว่าเป็นตัวเล็กทั้งหมด สามารถเป็นตัวเลขได้ หรือขีดคั่นกลาง (-) ได้ ส่วนโดเมนภาษาไทย (.ไทย) ผมอาจพูดถึงในโอกาสหน้าคับ
  • TLD : ตรงๆ มันก็คล้ายๆ นามสกุลครับซึ่งแต่ละสกุลอาจมีความหมายแฝงที่ใช้กับองค์กรใด หรือประเภทของหน่วยงาน หรือสวยงาม เช่น .com , .co, .in.th , .dev , .me , .ac.th ซึ่งบางอันเป็น tld ของประเทศ เช่น ประเทศไทย คือ .th เป็นต้น ซึ่ง tld มีให้เลือกมากมายเลยครับ มากกว่า 1000+ ใครอยากได้สกุลใดก็หาเอาเลยครับ

การจดโดเมน ก็คือการซื้อชื่อที่เราต้องการ กับ นามสกุล เอาไว้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดประสงค์หนึ่ง เช่น การทำเว็บ portfolio ของตัวเอง , เว็บบล็อก หรือ ไว้ใช้งานเกี่ยวกับระบบ iot เป็นต้นครับ ซึ่งเวลาเรา จดหรือซื้อโดเมนเนี่ย ความหมายแท้จริงมันก็คือ การเช่า Domain name กับ TLD เป็นระยะเวลานึง ส่วนใหญ่จะขั้นต่ำคือ 1 ปี พอหมด ระยะเวลาเช่าแล้วก็มี 2 ทางเลือกคือ

  • [1] ต่ออายุโดเมน : จ่ายเงินเพื่อเช่าต่อปีอีกกี่ปีก็ว่าไปตามการใช้งานครับ
  • [2] ปล่อยไว้เฉยๆ ให้หมดอายุไป : ส่วนนี้หากเราไม่ต่ออายุโดเมนของเราที่จดไว้ก็จะถูกเรียกคืนไป และคนอื่นสามารถจดต่อเราได้

ละก็ส่วนสุดท้ายจะเป็นเรื่องของ Subdomain ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับ Domain name server (DNS) และ Name server (NS) ผมจะยกเอาไปไว้อีกบทความนึงล่ะกันครับ

เริ่มต้นสมัครสมาชิกกับ GoDaddy

อันดับแรกก็เข้าเว็บ GoDaddy ตามนี้ได้เลยครับ https://th.godaddy.com/ เสร็จแล้วให้กดตรง [ลงชื่อเข้าใช้งาน] มองหาส่วนของลูกค้าใหม่แล้วกด [สร้างบัญชีของฉัน] ก็จะขึ้นให้เราเลือกได้ว่าสร้างบัญชีด้วยอะไร สะดวกหน่อยก็บัญชี facebook ได้เลย ส่วนใครมีบัญชีของ GoDaddy แล้วก็ลงชื่อเข้าใช้งานได้เลยครับ

พอ login เสร็จเรียบร้อย ก็พิมพ์ชื่อโดเมนที่เราต้องการจดลงในช่องค้นหาได้เลย ในตัวอย่างผมต้องการจดชื่อ raweeroj มี tld คือ me จะได้เป็น raweeroj.me จากนั้นกดค้นหาได้เลยครับ (แล้วรอลุ้นครับว่าจะมีว่างให้เราจดไหม)

อันนี้จะเป็นผลลัพธ์แสดงว่า raweeroj.me ยังว่างอยู่ไม่มีใครบนโลกจดไว้ 555+ แสดงว่าผมสามารถจดโดเมนชื่อ raweeroj.me ได้ จากนั้นก็กด [เพิ่มลงตะกร้าสินค้า] *เพิ่มเติมเรื่องของราคาครับ 119 บาท นั่นคือปีแรก ก็คือตั้งแต่วันี้ 26/3/2020 นับจนครบ 1 ปี 26/3/2021 ผมจะเสีย 119 บาท แต่ถ้าผมอยากใช้ชื่อนี้ต่อก็ต้องเสียค่าต่ออายุโดเมน 739 บาท เพื่อใช้ไปอีก 1 ปี

ส่วนอันนี้จะเป็นผลลัพธ์ว่าโดเมน raweeroj.com เนี่ยมีคนๆ นึงจดไว้เเล้วบนโลกใบนี้ อิอิส์ เราไม่สามารถจดได้ ต้องเปลี่ยนชื่อ(domain name) หรือ นามสกุล (TLD) ถึงจะสามารถใช้งานได้ครับ (พอเปลี่ยนแล้วมันก็ไม่สวยใช่ไหมครับ 555+) ก็พยามหาชื่อที่ซ้ำยากในการจดดูครับ

ต่อไปก็จ่ายเงินครับ

ซื้อแล้วก็ต้องจ่ายครับ T T กดเบาๆ ไปที่ [ชำระเงิน] รูปรถเข็น

ก็จะขึ้นหน้าต่างแบบนี้มาให้เรากรอก

  • การชำระเงิน : รองรับ VISA ทุกชนิด MASTERCARD , Paypal , UnionPay (ผมใช้ VISA ครับสะดวกดี เงินหายวิ๊ปวั๊ปๆ เลยครับ)
  • ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน : ก็กรอกที่อยู่องค์กร หรือ ที่อยู่เราไปครับ
  • ความเป็นส่วนตัวของโดเมน : ใครจะกดซื้อเพิ่มก็ได้นะครับ โดเมนเราเวลาใครไป who.is ก็จะไม่แสดงข้อมูลเราครับ จะปกปิดให้ (ผมไม่กดเพิ่ม :) )
  • จากนั้นกด [จบการทำการซื้อ]

เสร็จเรียบร้อยครับผมสำหรับการจดโดเมนกับ GoDaddy!

ครับก็จบไปแล้วสำหรับขั้นตอนการจดโดเมน หวังว่าจะทำให้ผู้อ่านและผู้ติดตามเข้าใจกันมากขึ้นครับ ผิดพลาดประการใดผมขอน้อมรับและยินดีแก้ไขครับ สำหรับบทความหน้าเราจะเอาโดเมนไปทำอะไร หรือ DNS server คืออะไรแล้วทำไมต้องมีจะเป็นบทความหน้าน่ะครับ

ปล. ผมไม่ได้สปอร์นจาก GoDaddy น่ะครับ 555+ ขอบคุณท่านและผู้ติดตามที่อ่านจนจบครับ อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยครับ แล้วเจอกันใหม่ครับ สวัสดี :)

--

--

Raweeroj Thongdee
Raweeroj Thongdee

Written by Raweeroj Thongdee

HPC and Supercomputer, Network, Server , Embedded Systems ชอบอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ เขียนบล็อก(ถ้าว่าง !) แบ่งปัน maker

No responses yet